กรดมีกี่ประเภท ?

กรดมีกี่ประเภท

ประเภทของสารละลายกรด

สารละลายกรด แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์ ดังนี้

กรดอินทรีย์

เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ หรือได้จากการสังเคราะห์ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เกิดการเปลี่ยนสี ตัวอย่างเช่น


1)  กรดแอซีติก (Acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชู (น้ำส้มสายชูเป็นสารละลายที่มี    กรดแอซีติก 5% โดยมวลต่อปริมาตร) 


2)  กรดซิตริก (Citric acid) หรือกรดมะนาว เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น


3)  กรดฟอร์มิก (Formic acid) หรือกรดมด


4)  กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic acid) หรือวิตามินซี

 

กรดอนินทรีย์

เป็นกรดแก่ที่ได้จากแร่ธาตุ จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้ เมื่อทดสอบกับสารละลายเจนเชียนไวโอเลต เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสีม่วงเป็นสีเขียว  กรดอนินทรีย์มีความสามารถกัดกร่อนสูงถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน ตัวอย่างเช่น


1)  กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) หรือกรดเกลือ

     2)  กรดไนตริก (Nitric acid) หรือดินประสิว


3)  กรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) หรือกรดหินปูน


4)  กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำมะถัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Main Menu