เบส(ด่าง)มีกี่ประเภท ?

เบสมีกี่ชนิดทำหน้าที่อะไรบ้าง

 

เบส ตามคำจำกัดความของอาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) คือ สารประกอบเคมีที่ดูดไฮโดรเนียมไอออน เมื่อละลายในน้ำ (ผู้รับโปรตอน) เบสที่ละลายในน้ำเรียกว่า  อัลคาไล ในที่ที่สิ่งแวดล้อมเป็นน้ำ ไฮดรอกไซด์ไอออนจะถูกให้ เบสและกรดถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกันเพราะว่าผลของกรดคือการเพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในน้ำ, ในขณะที่เบสลดความเข้มข้น เบส อาร์รีเนียสเมื่อละลายน้ำสารละลายของมันจะมี pH มากกว่า 7 เสมอ กรดเมื่อผสมกับเบสจะสะเทิน

สารละลายเบส              

       เบส   คือ สารประกอบที่ทำปฏิกิริยากับกรด แล้วได้เกลือกับน้ำจะสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH) เบสทุกชนิดจะมีรสฝาด

       สมบัติของสารละลายเบส

  1. เบสทุกชนิดมีรสฝาดหรือเฝื่อน
  2. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงิน (มีค่าpH มากกว่า 7)
  3. ทำปฏิกิริยากับน้ำมันพืช หรือน้ำมันหมู จะได้สารละลายที่มีฟองคล้ายสบู่
  4. ทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียไนเตรตจะได้แก๊สที่มีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย
  5. สามารถกัดกร่อนโลหะ อะลูมิเนียมและสังกะสี และมีฟองแก๊สเกิดขึ้น
  6. ทำปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้ำ เช่น  สารละลายโซดาไฟ (โซเดียมไฮดรอกไซด์)  ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก)  ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์  หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงอาหาร นอกจากนี้โซดาไฟยังสามารถทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน ได้เกลือโซเดียมของกรดไขมัน หรือที่เรียกว่า สบู่

       ประเภทของเบส

       ตัวอย่างสารละลายเบสในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม   มีดังต่อไปนี้

  1. สารประเภททำความสะอาด

         –  โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)  ใช้ทำสบู่

        –  แอมโมเนีย (CH3) น้ำยาล้างกระจก,น้ำยาปรับผ้านุ่ม

        –  โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3)   อุตสาหกรรมผงซักฟอก

  1. สารปรุงแต่งอาหาร

         – โซเดียมไฮดรอกไซด (NaOH)  ทำผงชูรส

         – โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3)  ทำขนม

  1. สารที่ใช้ทางการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ย

        – ยูเรีย [CO(NH2)2]  ใช้ทำปุ๋ย

       – แคลเซียมไฮดรอกไซด์ [Ca(OH)2] แก้ดินเปรี้ยว

  1. ยารักษาโรค

       – NH3(NH4)2CO3  แก้เป็นลม

      – แคลเซียมไฮดรอกไซด์ [ Ca(OH)2] ลดกรดในกระเพาะอาหาร

     – แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ [ Mg(OH)2]  ลดกรดในกระเพาะอาหาร , ยาถ่าย

ดีเอชอร์ขอขอบคุณ แหล่งที่มา

นงลักษณ์  สุวรรณพินิจและปรีชา  สุวรรณพินิจ. (2537). สารและสมบัติของสาร ม.1. กรุงเทพฯ: ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง จำกัด.

วิไรรัตน์  นกน้อย. (ไม่ปรากฏวันเดือนปีที่จัดทำ). Education for science. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก  https://sites.google.com/site/kruwirairat/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-4/4-4-smbati-khxng-sarlalay-krd—bes.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Main Menu