MP02 : หมดไฟ 🔥 ทำยังใงดี ⁉️

PicsArt_10-24-04.25.15

ช่วงนี้มีใครหมดไฟบ้างคะ ? 🙋🏻‍♀️

ถ้าคุณยกมือเราคือเพื่อนกันค่ะ ..
วันนี้มาเรียมากับเทคนิคง่ายๆสั้นๆ
สำหรับคนหมดไฟ 🔥 จากการทำงาน

💁🏻‍♀️ เริ่มกันที่วิธีแรก

1. เรียนรู้ที่จะออกห่างจาก “ที่ทำงาน/ออฟฟิศ”
หรือพื้นที่ที่ทำให้หมดไฟ เช่น พยายามออกไปเดินเล่นช่วงบักเบรก พักกลางวัน พาตัวเองเสพบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกสบายใจ เลี่ยงการรับประทานมื้อหลักร่วมไปกับระหว่างทำงาน พยายามจัดสรรเวลาให้ ไม่ต้องทำงานตอนดึกหรือทำงานในวันหยุด เพราะจะย่ิงรู้สึกได้รับการกดดันจากงานอยู่ตลอดเวลา

2. เข้าหาความเงียบ เมื่อต้องปะทะกับความยุ่งเหยิง ว่นวาย พยายามเอาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่นั่งเงียบ ๆ สักพักโดยไม่ต้องตอบโต้กับสิ่งที่อยู่รอบกาย เนื่องจากสมองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทนต่อสิ่งเร้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานนาน ๆ อย่างต่อเนื่องกระทบต่อการทำงานของสมองและนำไปสู่ความเครียดได้ง่าย ๆ

3. หยุดทำอะไรชั่วขณะ ความคิดดำเนินไปตลอดเวลา แต่เมื่อถึงจุดที่รู้สึกอิ่มต้น ต้องหาจังหวะให้สมองหยุดพัก ลองทำให้สิ่งที่ดูไร้ความหมายบ้าง เช่น ดูเมฆที่ลอยผ่านไปในอากาศ นั่งมองบรรยากาศรอบ ๆ ฯลฯ

4. เขียนบันทึก บันทึกประจำวันหรือบันทึกเรื่องราวที่มีประโยชน์เก็บไว้ เพื่อให้เกิดการทบทวนความคิดตัวเองในทุก ๆ วัน

5.พักเทคโนโลยีบ้าง การทำงานในยุคดิจิทัลหลีกเลี่ยงจากเทคโนโลยีได้ยาก แต่การจัดระเบียบชีวิตให้มีระยะห่างจากเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับตัวเอง เช่น การปิดโทรศัพท์ของคุณในตอนค่ำ ตอนนอน หรือปิดเครื่องในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ จะช่วยให้ไม่รู้สึกถูกบีบคั้นเรื่องงานอยู่ตลอดเวลาได้
เพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การติดต่อกับเพื่อน ๆ เชื่อมต่อกับผู้คนหรือสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากขึ้น เพื่อให้มองเห็นแนวคิดใหม่ ๆ ช่วยให้เราสามารถ
ก้าวออกจากความฟุ้งซ่านในหัวของตัวเอง และระงับความคิดฟุ้งซ่านที่จะเพิ่มขึ้นมาในหัวได้ดี

6.ออกกำลังกาย การขยับเขยื้อนร่างกายอยู่เสมอ หรือทำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมเรื่องจังหวะการหายใจ มีส่วนช่วยในการทำงานได้ดี โดยเฉพาะการวิ่ง เดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะ เพราะการเคลื่อนไหวที่เน้นการจดจ่ออยู่กับลมหายใจคล้ายกับการกำหนดลมหายใจในการนั่งสมาธิ มีส่วนช่วยให้ได้จดจ่อกับตัวเองมาขึ้น และสุขภาพดีขึ้นในเวลาเดียวกัน
กินดี เลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีฤทธิ์กดประสาทส่วนที่ควบคุมความคิด และกดสมองส่วนที่คอยยับยั้งเรื่องต่าง ๆ แม้จะรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย แต่เป็นความรู้สึกเพียงชั่วขณะ จึงไม่ใช่ทางออกที่ดี และอาจเป็นสาเหตุของความฟุ้งซ่าน ความเครียดในครั้งต่อ ๆ ไปได้

7.นอน ยิ่งทำงานหนัก ยิ่งไม่มีเวลานอน สมองยิ่งล้า กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้สึกหมดไฟที่เกิดขึ้นวนไปแบบงูกินหาง ตราบใดที่ยังไม่สามารถแบ่งเวลาส่วนหนึ่งมานอนให้เพียงพอได้ ยิ่งมีโอกาสหมดไฟได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นพยายามจัดสรรเวลา หรือปฏิเสธบางสิ่งบางอย่างบ้าง เพื่อพาร่างกายเข้าสู่การพักผ่อน 6-8 ชั่วโมง แบบที่ควรจะเป็น

8. ค้นหากิจกรรมที่ฟื้นฟูความหมายให้กับชีวิตของคุณ การทำงานไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะทำให้ชีวิตของคุณมีความหมาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างความสมดุลให้กับการทำงาน และการดำเนินชีวิต สำหรับคนที่เริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร ส่วนหนึ่งมาจากความรู้สึกลึก ๆ ว่าชีวิตไร้ความหมาย ฉะนั้นการลองหากิจกรรมอาสาสมัคร ทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อผู้อื่นอยู่เสมอจะช่วยทำให้ชีวิตของคุณมีคุณค่ามากขึ้นยิ่ง ๆ ขึ้นไป

9. หาเวลาอุทิศให้กับสิ่งที่คุณทำอย่างสร้างสรรค์ แบ่งเวลาทำในสิ่งที่ช่วยพัฒนาตัวเอง หรือเข้าคลาสบางอย่างที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการพยายามทำในสิ่งที่คุณอยากรู้ หรือทำในสิ่งที่ไม่เคยทำจะช่วยเปิดใช้งานส่วนใหม่ของสมองของคุณได้เป็นอย่างดี อาจช่วยให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไป จุดประกายแรงบันดาลใจในชีวิตได้มากขึ้น

10.ผ่อนคลาย แต่ละคนอาจจะมีวิธีการผ่อนคลายที่แตกต่างกันออกไป เช่น การงีบในเวลาสั้น ๆ อาบน้ำ เดินเล่น หรืออ่านสิ่งที่ไม่ได้อยู่บนหน้าจอหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยให้ใช้ประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ที่นำไปสู่การผ่อนคลายได้ดีกว่า
ค้นพบความสุขและพลังของเสียงหัวเราะ ค้นหาสิ่งที่ทำให้คุณหัวเราะ เสียงหัวเราะเป็นยาดีในการฟื้นฟูจิตใจและความรู้สึกที่แสนอึดอัด โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเวลานาน แต่เริ่มจากการหยุดพักจากทุกสิ่งแล้วค้นหาจังหวะที่แตกต่าง และช้ากว่า จับตาดูสิ่งสวยงามกับสิ่งเหล่านั้น

11. มองโลกในแง่ดี ผ่อนปรนกับทุกสิ่งที่ทำให้รู้สึกระคายเคือง หาข้อดีกับเรื่องเล็ก ๆ เช่น…“ขอบคุณบาริสต้าที่ชงเครื่องดื่มช้า ทำให้เรามีโอกาสได้สัมผัสลมหายใจตัวเองได้มากขึ้น!” แม้อาจดูประชดประชันไปสักนิด แต่การเรียนรู้ที่จะหาข้อดีในข้อเสียจะช่วยให้เป็นคนที่มองเห็นโอกาสในอุปสรรค เห็นความสุขเล็ก ๆ แทรกตัวอยู่ในความเบื่อหน่ายได้เสมอ

หวังว่าจะเป็นประโยช์นกับทุกคนนะคะ ✌🏻🧡

ไปที่ค้นหาพิมพ์คำว่า “DIYCHEMICAL”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Main Menu